• หน้าแรก
  • หน้าหลัก
  • หลวงปู่
  • ข้อมูลทั่วไป
    • ประวัติโรงเรียน
    • คณะกรรมการสถานศึกษา
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • อาคารสถานที่
    • วิสัยทัศน์
  • บุคลากร
    • ฝ่ายบริหาร
    • กลุ่มสาระภาษาไทย
    • กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
    • กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ
    • กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
    • กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา
    • กลุ่มสาระการงานอาชีพ
    • กลุ่มสาระศิลปะ
    • กลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
    • กลุ่มอัตราจ้าง
    • กลุ่มนักการ คนงาน
  • ITA
  • เพลงประจำโรงเรียน
  • ช่องทางติดต่อ
  • จดหมายข่าว
  • พุทธิฟิล์ม

เลือกรายการ

  • หน้าหลัก
  • หลวงปู่
  • บุคลากร
    • กลุ่มสาระภาษาไทย
    • กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ
    • กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
    • กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
    • กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา
    • กลุ่มสาระการงานอาชีพ
    • กลุ่มสาระศิลปะ
    • กลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
    • กลุ่มอัตราจ้าง
    • กลุ่มนักการ คนงาน
  • ข้อมูลทั่วไป
  1. คุณอยู่ที่:  
  2. หน้าแรก
  3. ข้อมูลทั่วไป
  4. ประวัติโรงเรียน
  5. เกี่ยวกับโรงเรียน

ประวัติโรงเรียน

รายละเอียด
หมวด: เกี่ยวกับโรงเรียน

 


หลวงปู่พระพรหมคุณาภรณ์
(ด.เจียม กุลละวณิชย์)

 

อาคาร ๑

 

 


อาคารอเนกประสงค์

 

 
สนามกีฬามาตรฐาน

 


อาคารพลานามัย"สิรินธร"

 

@โรงเรียนพุทธิรังสีพิบูล
สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่ 3/1 หมู่ที่ 2 ถนนสิริโสธร ถนนหมายเลข 314
ตำบลลาดขวาง อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140
โทรศัพท์ 038-577021 โทรสาร 577026


เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ประเภทสหศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา

ได้เริ่มก่อตั้งเมื่อ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2497
โดยหลวงปู่พระพรหมคุณาภรณ์(ด.เจียม กุลละวณิชย์)
ซึ่งในขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูอาทร พิพิธกิจ
เจ้าอาวาสวัดพิพิธประสาทสุนทร (ลาดขวาง)

เนื่องจากในช่วงระยะเวลาดังกล่าวมีนักเรียนที่มีภูมิลำเนาอยู่บริเวณ
วัดพิพิธประสาทสุนทร (ลาดขวาง) และบริเวณใกล้เคียงที่เรียนจบระดับชั้น ป.4
เป็นจำนวนมากและไม่มีโรงเรียนมัธยมศึกษา
ที่จะเข้าศึกษาต่อได้ผู้ปกครองนักเรียนจึงขอความช่วยเหลือให้หลวงปู่
ช่วยฝากลูกหลานเข้าเรียน ในโรงเรียนที่อยู่ในตัวจังหวัด
ระยะแรกๆ ไม่มีปัญหา ต่อมาจำนวนนักเรียนที่จะเข้าศึกษาต่อมากขึ้น
และหลวงปู่ก็ไม่สามารถจะช่วยได้ทั้งหมด

 @ ด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงเป็นแรงบันดาลใจให้หลวงปู่
ตัดสินใจจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาขึ้น ที่วัดพิพิธประสาทสุนทร(ลาดขวาง) 
โดยอาศัยเรียนที่อาคาร โรงเรียนนักธรรมบาลีและโรงครัวของวัด
ในระยะแรกใช้ชื่อว่า"โรงเรียนมัธยมวัดลาดขวาง"
ซึ่งใน ปีแรกมีนักเรียนสมัครเข้าเรียน จำนวน 77 คน
จัดเป็น 2 ห้องเรียนและหลวงปู่กับพระมหาเปรียญที่อยู่จำพรรษาที่วัด
จำนวน 5 รูปเป็นครูสอน

 @ต่อมาหลวงปู่ได้ยื่นเรื่องขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนต่อทางราชการ
และขอครูมาช่วยสอนโดยได้รับการ สนับสนุนจาก นายจวน กุลละวณิชย์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ของจังหวัดฉะเชิงเทราในสมัยนั้น
แต่ทางราชการไม่อนุมัติเพราะผูกพันกับงบประมาณ
หลวงปู่ยังคงดำเนินการสอนต่อไป
จนกระทั่งทางราชการได้พิจารณาอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนได้
หลวงปู่เป็นผู้จัดหาที่ดินก่อสร้างอาคารเรียน บ้านพักครูสมทบกับของทางราชการ
หลวงปู่ได้รับบริจาคที่ดิน จำนวน 23 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา
เพื่อสร้างอาคารเรียนและเปิดทำการสอนตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

 @ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนบ้านโพธิ์พิบูลบำรุง"
และเป็น "โรงเรียนพุทธิรังสีพิบูล" ตามชื่อสมณศักดิ์ของหลวงปู่
ปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 90 ไร่ 3 งาน 85 ตารางวา 

-พ.ศ. 2498 สร้างอาคารเรียนคอนกรีตทรงไทย 2 ชั้น(อาคาร 1)
อาคารหอสมุดคอนกรีต ทรงไทย 2 ชั้น (อาคาร 2)
บ้านพักครู 5 หลังห้องส้วมนักเรียน 1 หลัง
บ้านพักภารโรง 1 หลัง ซื้อรถยนต์กระบะโตโยต้า 1 คันเพื่อใช้บริการ รับส่งนักเรียน

-พ.ศ.2499 ใช้ชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนบ้านโพธิ์พิบูลบำรุง" 
-พ.ศ. 2507 เข้าอยู่ในโครงการมัธยมชนบท(คมช. รุ่น1/2507) 
-พ.ศ. 2514 ใช้ชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนพุทธิรังสีพิบูล" 
-พ.ศ. 2518 สร้างอาคารคอนกรีตทรงไทย 2 ชั้น (อาคาร 3) และอาคารพลานามัย (อาคาร 4)
-พ.ศ.2523 สร้างโรงฝึกงานอเนกประสงค์ คอนกรีต 4 ชั้น (อาคาร 5)
-พ.ศ.2524 ได้รับอนุมัติให้เปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(มศ.) 
-พ.ศ. 2525 สร้างอาคารเรียนวิทยาศาสตร์ 3 ชั้น (อาคาร 6)
-พ.ศ. 2530 จัดสร้างสนามกีฬาพร้อมลู่การแข่งขัน และอาคารคอนกรีต 2 ชั้น
ใช้เป็น อาคารทอสื่อ ตัดเย็บ - หัตถกรรม (อาคารธรรมเสนานี) 

-พ.ศ. 2535 จัดสร้างอาคารพลานามัยสิรินธร แบบ คสล. ด้วยเงินบริจาค 45 ล้านบาท
-พ.ศ. 2537 ได้รับจัดสรรงบประมาณในการสร้างสนามกีฬา จึงดำเนินการรื้อสนามเดิม
และอัฒจันทร์เชียร์กีฬาและจัดสร้างสนามกีฬาแบบมาตรฐานพร้อมลู่วิ่ง
ยางสังเคราะห์ซินเทติก ด้วยงบประมาณ จำนวน 29 ล้านบาท
- พ.ศ.2538 ได้รับงบประมาณในการสร้างหอถังประปา  แบบ 18 / 12 สูง 16 เมตร
จุ 3.50 ลูกบาศก์เมตร ด้วยงบประมาณ จำนวน 618,000 บาท


-พ.ศ.2539 ได้รับจัดสรรงบประมาณในการสร้างอาคารอเนกประสงค์ 3 ชั้น แบบ คสล.
ด้วยงบประมาณจำนวน 23 ล้านบาท และสร้างอัฒจันทร์เชียร์กีฬา
พร้อมทั้งติดตั้งไฟส่องสนาม ด้วยงบประมาณจำนวน 33,250,000 บาท

-พ.ศ.2540 ได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ ด้วยงบประมาณ 16 ล้านบาท
-พ.ศ.2542 ได้รับจัสรรงบประมาณในการสร้างรั้วโรงเรียน ยาว 66 เมตร
ด้วยงบประมาณ 179,000 บาท
-พ.ศ. 2543 ได้จัดสร้างโรงประกอบอาหารของโรงเรียน ด้วยเงินบริจาค
จำนวน 115,000 บาท

 

 

วิสัยทัศน์

รายละเอียด
หมวด: เกี่ยวกับโรงเรียน


โรงเรียนพุทธิรังสีพิบูล 
อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา

 

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรม สู่มาตรฐานระดับสากล บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

พันธกิจ

1. ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
2. ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 
มีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบคิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีสติสมเหตุผล
3. ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. สถานศึกษามีการสร้าง ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5. สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ มีการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้
และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน จัดกิจกรรมตามนโยบาย จุดเน้น แนวทางการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาและส่งเสริม
สถานศึกษาให้ยกระดับคุณภาพสูงขึ้น

 

คำขวัญ
มุ่งการเรียน เพียรทำดี กีฬาเด่น เน้นวินัย ใฝ่กตัญญู รู้คุณธรรม นำความสะอาด

 

อัตลักษณ์ของโรงเรียน

“ลูกพุทธิฯ ประพฤติดี มีความรู้ คู่คุณธรรม”
อธิบายคำว่า “ประพฤติดี มีความรู้ คู่คุณธรรม”
1. แต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามกฎระเบียบของโรงเรียน
2. สุภาพอ่อนน้อม
3. มีความกตัญญู
4. มีความรู้ความสามารถตามศักยภาพ

 

เอกลักษณ์ของโรงเรียน
“ครูและนักเรียนมีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

 

ปรัชญาของโรงเรียน
โรงเรียนมุ่งส่งเสริมและช่วยเหลือเด็กที่อยู่ในชนบทและที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน
ทั้งในด้านวิชาการ และอาชีพตลอดจนการฝึกและปฏิบัติเพื่อเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี
และวัฒนธรรมที่ดีของไทย

 

คติธรรมของโรงเรียน
มองคนในแง่ดี สามัคคีจักยั่งยืน ชีวิตจักราบรื่น ก็เพราะพื้นวิชาดี

 

พุทธภาษิตประจำโรงเรียน
โลโก ปตฺถมฺภิกา เมตฺตา - เมตตาธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนโลก

 

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำโรงเรียน
พระพุทธปัญญาประสาท

 

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
เป็นรูปพระพรหมอยู่ในกรอบวงกลม ชมพู - ฟ้า
พระพรหม หมายถึง พรหมวิหาร 4
ประกอบด้วย เมตตา กรุณามุทิตา อุเบกขา

สีประจำโรงเรียน
ชมพู-ฟ้า 
ชมพู หมายถึง สีประจำวันเกิดองค์ปฐมจารย์ผู้ก่อตั้งโรงเรียน
ฟ้า หมายถึง ความเมตตาของผู้ก่อตั้งโรงเรียนประดุจฟ้าประทานพร

 

 

 

 

 

 

 

 

กับพ่อปลื้ม





รับราชการทหาร


เจ้าอาวาส
วัดพิพิธประสาทสุนทร

กับในหลวง

                        
พระพรหมคุณาภรณ์ (จิรปุญโญ ด.เจียม กุลละวณิชย์)
อดีตเจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา
องค์ปฐมาจารย์ผู้ก่อตั้งโรงเรียนพุทธิรังสีพิบูล

 

 


กำเนิด

หลวงปู่เป็นบุตรคนที่ ๓ ในจำนวน ๘ คน ของพ่อปลื้มและแม่สาย
เกิดที่บ้านคลองขวางตำบลลาดขวาง อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๒ ค่ำ

เดือนอ้าย ปีเถาะจุลศักราช ๑๒๖๕ ตรงกับวันที่ ๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๔๖ เป็นปีที่ ๓๕
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บิดามารดา ตั้งชื่อให้ว่า "เจียม"
เป็นคำไทยพยางค์เดียวมีความหมายว่า "รู้จักประมาณตัว ประพฤติตนพอสถานประมาณ"

การศึกษา
- อายุ ๕ ขวบ พ่อปลื้ม ได้พาไปฝากให้ศึกษาเล่าเรียนกับพระอธิการแก่น เจ้าอาวาสวัดตึก (วัดชัยชนะสงคราม)
ถนนเจริญกรุง และจากนั้นได้ย้ายไปอยู่กับสามเณรแปลก เกษตรทัต (น้าชาย)ที่วัดตะเคียน
(วัดมหาพฤฒาราม) จนถึงอายุ ๑๖ ปี
- อายุ ๑๗ ปี เข้าเรียนแพทย์ที่โรงเรียนแพทย์หลวงโดยได้เป็นนักเรียนแพทย์เสือป่า
ประจำกรมนักเรียนแพทย์เสือป่าหลวง
- อายุ ๑๘ ปี ขอพระราชทานนามสกุลให้แก่นายปลื้ม (บิดา)
โดยได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบามสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเจ้าอยู่หัว
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ ว่า "กุลละวณิชย์"

 

การทำงาน
- อายุ ๒๑ ปี รับราชการทหาร
เป็นนักเรียนนายดาบที่กองร้อยนักเรียนนายดาบโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม
- อายุ ๒๒ ปี ได้รับยศเป็นนายดาบ และไปรับราชการที่กองพลทหารบกที่ ๑๐
จังหวัดร้อยเอ็ด และเวลาต่อมาได้ลาออกจากการรับราชการทหาร
- ๒๔๖๙-๒๔๗๐ ทำงานที่แผนกบัญชีรถไฟหลวง และธนาคารฮ่องกง


อุปสมบท

- ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ (อายุ ๒๔ ปี) ได้อุปสมบท (วันที่ ๗ กรกฎาคม) โดยหลวงพ่อจิ๊ด
(พระครูพิพิธสุตสุนทรธัมมโชตมหาเถโร) เจ้าอาวาสวัดลาดขวาง เจ้าคณะแขวงบ้านโพธิ์
รองเจ้าคณะจังหวัด จัดบวชให้
- พ.ศ. ๒๔๘๐ เป็นรองเจ้าอาวาสวัดลาดขวาง
- พ.ศ. ๒๔๘๒ เป็นเจ้าคณะตำบลลาดขวาง
- พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้สมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ "พระครูอาทรพิพิธกิจ"
เมื่ออายุ ๓๘ ปี พรรษา ๑๔
- พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นพระอุปัชฌาย์
- พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นเจ้าอาวาสวัดพิพิธประสาทสุนทร (ลาดขวาง)
- พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นผู้เผยแผ่อำเภอบ้านโพธิ์
- พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นเจ้าคณะอำเภอบางปะกง
- พ.ศ. ๒๔๙๑ เป็นวินัยธรจังหวัด
- พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะอำเภอบ้านโพธิ์อีกหนึ่งตำแหน่ง
- พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้สมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญ ที่ "พระพุทธิรังษี"
(อายุ ๕๔ ปี พรรษา ๓๐)
- พ.ศ. ๒๕๐๗ เป็นเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา (อายุ ๖๑ ปี พรรษา ๓๗)
- พ.ศ. ๒๕๐๘ เป็นเจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร
- พ.ศ. ๒๕๐๘ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ "พระราชพุทธิรังษี"
- พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ "พระเทพคุณาธาร"
- พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ "พระธรรมเสนานี"
- พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ ที่ "พระพรหมคุณาภรณ์"

มรณภาพ
เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2540 รวมอายุ 95 ปี 1 เดือน

 

 

หมวด: เกี่ยวกับโรงเรียน
คณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนพุทธิรังสีพิบูล
1. นายอิทธิพล มีเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ประธานกรรมการ
2. พ.ต.ต.กฤษณศักดิ์ ไชยป้อ ผู้แทนผู้ปกครอง กรรมการ
3. นางอารีย์ ถิระผะลิกะ ผู้แทนครู กรรมการ
4. นายสุเทพ กรัสประพันธุ์ ผู้แทนองค์กรชุมชน กรรมการ
5. นายรุ่ง ทองเกตุแก้ว ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการ
6. นายวิสิทธิ์ รัตนทารถ ผู้แทนศิษย์เก่า กรรมการ
7. พระครูปลัดแสงทอง จนฺทสุวณฺโณ ผู้แทนองค์กรศาสนา กรรมการ
8. พระครูสิทธิสารพิมล (สมนึก กตสาโร) ผู้แทนองค์กรศาสนา กรรมการ
9. นางสาวอมรา เขียวรักษา ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ
10. นางดวงเดือน สวัสดี ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ
11. นายยศชาภณ บุญเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ
12. นายสุวิทย์ จูเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ
13. นางขวัญเรือน จำรัสพันธุ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ
14. นายกวินเวทย์ วัฒนสินเสถียร ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ
15.  นางสาววัชนี ชูสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนพุทธิรังสีพิบูล  กรรมการและเลขานุการ
หมวด: เกี่ยวกับโรงเรียน

tong

leka

leka2

por

utain2

vimol2

chalairat

vichai

sombat

sanpang

samran

jit

utain

vimol

veera

krisda

pranee

 amorn

 

 

 

 

 

 

หมวด: เกี่ยวกับโรงเรียน
  1. อาคารสถานที่
  2. ช่องทางติดต่อ
  3. เพลงประจำโรงเรียน

เข้าสู่ระบบ

  • ลืมรหัสผ่าน?
  • ลืมชื่อผู้ใช้?